กระดาษในงานพิมพ์ เรื่องง่ายๆ ที่ควรต้องรู้ Part 1

articles

ต้องยอมรับว่าระบบพิมพ์ในยุคปัจจุบันมีความก้าวล้ำไปมาก ส่งผลให้ลูกค้าสามารถเลือกประเภทกระดาษในงานพิมพ์ได้มากมายตามความต้องการ ซึ่งกระดาษแต่ละประเภทเองก็มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้การเลือกกระดาษให้มีความเหมาะสมกับงานพิมพ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เนื่องจากจะส่งผลต่อความสวยงามของสิ่งพิมพ์โดยตรง อีกทั้งยังเป็นการควบคุมต้นทุนของงานพิมพ์ให้มีความคุ้มทุนมากที่สุด วันนี้ทางร้าน Pim123 จะขอนำเสนอเกร็ดความรู้เรื่องกระดาษในงานพิมพ์มาให้ได้อ่านกันครับ

เลือกขนาดของกระดาษ

(ขอบคุณรูปประกอบจาก : http://www.triple-group.co.th)
(ขอบคุณรูปประกอบจาก : http://www.triple-group.co.th)

เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่าในงานพิมพ์มีประเภทกระดาษมากมาย เช่นกระดาษ A4, B2, หรือ C3 ซึ่งเราจะมาอธิบายให้ทุกท่านเข้าใจก่อนเป็นอย่างแรกว่า กระดาษมาตรฐานที่กำหนดโดย ISO นั้น จะมีอัตราส่วนด้านยาวต่อด้านกว้างที่ 1 : 1.4142 ซึ่งอัตราส่วนนี้เมื่อนำกระดาษ 2 แผ่นมาต่อกันด้านข้างแล้ว จะทำให้เกิดกระดาษใหม่ที่ใหญ่ขึ้นในอัตรา 1 : 1.4142  เช่นเดิม และจะเป็นอัตราส่วนแบบนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อนำมาต่อกัน ส่วนชื่อเรียกกระดาษที่เป็นตัวอักษรแล้วตามด้วยตัวเลขนั้นจะเป็นขนาดของกระดาษ โดยเลข 0 จะเป็นเลขที่ขนาดกระดาษใหญ่ที่สุด ส่วนเลข 1 ก็จะขนาดเล็กกว่าเลข 0 เป็นสองเท่า และเลข 2 ก็จะเล็กกว่าเลข 1 เป็นสองเท่าเช่นกัน ไล่เรียงไปเรื่อย จนถึงเลข 10 ที่เป็นขนาดเล็กสุดครับ ส่วนรหัสอักษร A B C นั้นก็จะเป็นขนาดเริ่มต้นของกระดาษที่ ISO กำหนดเป็นมาตรฐานไว้ ดังตารางด้านล่างนี้

สำหรับกระดาษที่เรามักใช้งานในปัจจุบันจะเป็นกระดาษประเภท A  แต่ก็มีบางงานที่จะเป็นแบบ B และ C กันไปอยู่บ้าง ทั้งนี้การจะเลือกขนาดกระดาษสำหรับงานพิมพ์ให้เหมาะสมนั้น ก่อนอื่นจะต้องดูเนื้อหาของ Artwork ตัวอักษร หรือตัวสารที่จะนำเสนอเป็นหลักว่ามีเนื้อหามากหรือน้อยเพียงใด จัดวางในกระดาษแล้วมีความสวยงาม ผู้อ่านสามารถมองเห็นได้สะดวกหรือไม่ รวมถึงงบประมาณที่มีอยู่ ซึ่งส่วนมากแล้วขนาดกระดาษยิ่งใหญ่ก็ยิ่งมีต้นทุนผลิตสูงขึ้นตามมานั่นเอง จากนั้นก็เลือกขนาดกระดาษให้มีความเหมาะสมกับงานพิมพ์ที่ต้องการ

2018-01-03_15-52-59

เลือกความหนาของกระดาษ

(ขอบคุณรูปประกอบจาก : http://www.pingidea.com)
(ขอบคุณรูปประกอบจาก : http://www.pingidea.com)

เมื่อเข้าใจถึงขนาดของกระดาษกันแล้ว มาดูวิธีเลือกความหนาของกระดาษกันบ้างครับ ความหนาของกระดาษนั้นมีหน่วยวัดที่เรียกเป็นแกรม ซึ่งแกรมนั้นจะอ้างนึงน้ำหนักของกระดาษขนาด 1 ตารางเมตร (กว้าง 100 ซ.ม. ยาว 100 ซ.ม.) ยกตัวอย่างกระดาษ 100 แกรม ก็จะมีน้ำหนัก 100 กรัมในขนาด 1 ตารางเมตร ด้วยเหตุนี้กระดาษที่มีตัวเลขแกรมมากก็จะมีความหนาและน้ำหนักที่มากกว่ากระดาษที่มีตัวเลขแกรมน้อยนั่นเอง เช่น กระดาษ 120 แกรม จะหนากว่า กระดาษ 100 แกรม เป็นต้น

แม้ว่ากระดาษที่มีแกรมน้อยจะมีต้นทุนผลิตที่ถูกกว่า แต่ต้องอย่าลืมคำนึงถึงความบางของกระดาษด้วย หากกระดาษยิ่งบางแสงก็จะทะลุผ่านได้มากว่า ทำให้ขาดความสวยงามและอ่านยาก แต่หากงานเป็นเป็นประเภทหนังสือกระดาษที่หนาไปก็จะทำให้ต้นทุนผลิตแพงขึ้นและไปเพิ่มความหนาและหนักของหนังสือทำให้ไม่น่าอ่านอีกเช่นกัน ดังนั้นการเลือกความหน้าของกระดาษจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเราต้องคำนวนความหนาให้มีความเหมาะสมต่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาตรฐานทั่วไปมักใช้กระดาษ 70-80 แกรม ส่วนการพิมพ์หน้าปกก็ต้องเลือกใช้กระดาษที่หนาขึ้นอย่าง 120 แกรมขึ้นไป ทางเราจึงขอยกตัวอย่างชนิดของกระดาษในงานพิมพ์มาให้ดังนี้

  • ใบเสร็จ สำเนาสิ่งพิมพ์ สารานุกรม   40 – 60 แกรม
  • ตัวจดหมาย กระดาษหน้าในหน้าสือ/สมุด/นิตยสาร 70 – 80 แกรม
  • โบรชัวร์สี่สี หน้าสี่สีของนิตยสาร โปสเตอร์ 120 – 160 แกรม
  • ปกหนังสือ นิตยสาร สมุด แฟ้มนำเสนองาน กล่องสินค้า   210 – 300 แกรม
(ขอบคุณรูปประกอบจาก : http://www.cglretailsolutions.com)
(ขอบคุณรูปประกอบจาก : http://www.cglretailsolutions.com)

จากข้อมูลที่นำเสนอมานี้ก็คงจะพอทราบข้อมูลเบื้องต้นของขนาดและความหนาของกระดาษในงานพิมพ์กันบ้างแล้ว สำหรับในบทความครั้งต่อไป ทาง Pim1234 จะนำเสนอในส่วนของชนิดกระดาษและคุณสมบัติของกระดาษที่เหมาะกับงานพิมพ์มาให้อ่านกันต่อนะครับ