ไขข้อสงสัย…อะไรคือปฏิทินน่ำเอี๊ยง

articles

ประเทศไทยเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมาย ซึ่งความคิดความเชื่อแบบจีนก็เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่มีผลต่อสังคมไทย โดยสิ่งหนึ่งที่เป็นภาพสะท้อนความคิดความเชื่อแบบจีนอย่างชัดเจนก็คือ “ปฏิทินจีน” ที่มักจะใช้โหราศาสตร์น่ำเอี๊ยงในการคำนวณวันเวลา ทำให้เราพบว่าในบางแห่งก็นิยมเรียกปฏิทินประเภทนี้ว่า “ปฏิทินน่ำเอี๊ยง” เช่นเดียวกัน

ลักษณะของปฏิทินจีนหรือปฏิทินน่ำเอี๊ยง คือ การเป็นปฏิทินที่ให้ข้อมูลมากกว่าวัน วันที่ เดือน ปี ตามหลักสากล หากแต่มีการระบุวันฤกษ์ดี-ฤกษ์มงคลสำหรับทำสิ่งต่าง ๆ เอาไว้ เช่น วันพระจีน ฤกษ์คลอด ฤกษ์แต่งงาน ฤกษ์เปิดกิจการ ฯลฯ ซึ่งเมื่อนำศาสตร์ดังกล่าวมาทำเป็นปฏิทินสำหรับใช้ในสังคมไทย จึงได้มีการผนวกเข้ากับศาสตร์การทำปฏิทินแบบสุริยคติและจันทรคติ เราจึงพบว่าปฏิทินจีนในประเทศไทยนั้นมีการระบุวันพระไทย ตลอดจนวันข้างขึ้น-ข้างแรม เอาไว้ด้วย

ว่ากันว่า…จุดกำเนิดของโหราศาสตร์น่ำเอี๊ยงเริ่มต้นขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ที่ 4 ของอารยธรรมจีน (ประมาณ 206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) หรือราว ๆ 2,000 กว่าปีที่ผ่านมา โดยอาศัยความเชื่อว่าฤกษ์ยามมีความสำคัญกับชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งมีส่วนในการกำหนดบุคลิกลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคลอีกด้วย

ปฏิทินน่ำเอี๊ยง 02_1

ภาพจาก https://youtube.com/

ปฏิทินจีนหรือปฏิทินน่ำเอี๊ยงที่นิยมใช้กันในเมืองไทยนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทกว้าง ๆ ได้แก่ ปฏิทินรายเดือน และปฏิทินรายวัน โดยปฏิทินรายเดือนมักออกแบบให้เป็นปฏิทินแขวน ในขณะที่ปฏิทินรายวันนิยมออกแบบให้เป็นเล่มฉีก ซึ่งแต่ละแบบมีความเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป

ตัวอย่างข้อมูลที่แสดงบนปฏิทินน่ำเอี๊ยงแบบรายวัน มีดังนี้

ปฏิทินน่ำเอี๊ยง 03_1

ภาพจาก https://pim123.com/

1 คือ วัน-เวลาแบบจันทรคติของไทย ประกอบด้วย วันข้างขึ้น/ข้างแรม เดือน ปีนักษัตร

2 คือ วัน-เวลาแบบสากล (สุริยคติ) เขียนด้วยตัวอักษรจีน

3 คือ เดือนและปีตามจันทรคติของจีน โดยแถวบนหมายถึง ปี ซึ่งใช้สัญลักษณ์จาก 10 ราศีด้านบนในการเขียน ส่วนแถวล่างหมายถึง เดือน ซึ่งใช้สัญลักษณ์จาก 12 ราศีล่างในการเขียน

4 คือ วันตามจันทรคติจีน

5 คือ วันและเวลาของการเปลี่ยนสารทของชาวจีน

6 คือ โป๊ยหยี่สี่เถียวของแต่ละวัน ประกอบด้วยหลักปี หลักเดือน หลักดิถี (วัน) และหลักยาม (เวลา) ซึ่งจะกำหนดโดยราศีบนและราศีล่าง ใช้พิจารณาว่าวันนี้เป็นวันดีหรือไม่ดี เพื่อนำไปหาฤกษ์สำหรับทำพิธีมงคลต่าง ๆ

7 และ 8 คือ ราศีบนและราศีล่างของหลักดิถี (วัน) ใช้พิจารณาวันที่ชงกับวันนี้

9 คือ ฤกษ์ 28 ฤกษ์ และฤกษ์เดือน ใช้พิจารณาเดือนที่ชงกับวันนี้

10 คือ ปีนักษัตร ใช้พิจารณาปีที่ชงกับวันนี้

11 คือ ดวงดาวประจำวัน ใช้พิจารณาร่วมในการหาฤกษ์มงคล

12 คือ กิจกรรมที่ควรทำในวันนี้

13 คือ ทิศที่สถิตของเทพเจ้าแห่งโชคลาภ และเทพเจ้าแห่งความยินดี ในวันนี้

14 คือ กิจกรรมที่ไม่ควรทำในวันนี้

15 คือ ทิศที่ดีและทิศที่ไม่ดีในวันนี้ (ศาสตร์ฮวงจุ้ย)

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก https://www.pim123.com/ปฏิทินน่ำเอี๊ยง/#วิธีการดูปฏิทินน่ำเอี๊ยง

 

จะเห็นได้ว่าข้อมูลมี่แสดงบนปฏิทินน่ำเอี๊ยงมีจำนวนมากและมีความสลับซับซ้อนแบบวันต่อวัน การผลิตปฏิทินประเภทนี้จึงต้องใช้เวลาเตรียมการล่วงหน้ายาวนาน โดยเฉพาะในส่วนของการคำนวณตัวเลขและรายละเอียดต่าง ๆ ของโหราจารย์ ที่ต้องใช้ความรอบคอบมากเป็นพิเศษ พร้อมตรวจทานความถูกต้องซ้ำอีกรอบ

ปฏิทินน่ำเอี๊ยง 01_1

ภาพจาก https://pim123.com/

สำหรับปฏิทินน่ำเอี๊ยงจากร้าน PIM123 ได้รับคำพยากรณ์จากโหราจารย์ โง้ว งึ้งหมง โหราจารย์ผู้สืบทอดศาสตร์การทำนายมาแบบรุ่นสู่รุ่น การันตีได้ถึงความแม่นยำ แต่แฝงไว้ด้วยเทคนิคการใช้คำที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ในกระบวนการจัดทำยังได้ระบุวันสำคัญต่าง ๆ ทั้งของไทยและจีนลงในปฏิทิน เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานทั้งคนไทยและคนจีน ตลอดจนการออกแบบรูปเล่มและจัดองค์ประกอบให้มีความสวยงามน่าใช้ เป็นที่ประทับใจของลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างประเทศอย่างถ้วนหน้า